Refresh

This website www.bitcatcha.com/th/hosting-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/ is currently offline. Cloudflare's Always Online™ shows a snapshot of this web page from the Internet Archive's Wayback Machine. To check for the live version, click Refresh.

เนื้อหาของ Bitcatcha สนับสนุนโดยผู้อ่าน เมื่อคุณซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการเป็นพันธมิตร

6 เว็บโฮสติ้งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยในปี 2025 (เปิดเผยความเร็วและคุณสมบัติ)

เว็บโฮสต์อันดับ 1 ในประเทศไทยของเราคือ Hostinger ที่ให้คุณได้เพลิดเพลินไปกับเว็บโฮสติ้งอันเร็วแรงพร้อมโดเมนและ SSL ฟรีในราคาเพียง 59 บาทต่อเดือน!

จากข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานที่เรารวบรวมมาจากเว็บไซต์ทดลองเว็บโฮสติ้งกว่า 47 แห่ง เรามั่นใจที่จะ นำเสนอเว็บโฮสต์ 6 อันดับแรกที่เหมาะกับเว็บไซต์ในประเทศไทย

ซึ่งล้วนมีช่วงเวลาการให้บริการสูงกว่า 99% และความเร็วเซิร์ฟเวอร์เอเชียเฉลี่ยน้อยกว่า 200 ms รับรองว่าเว็บไซต์ของคุณพร้อมที่จะเจาะตลาดดิจิทัลของประเทศไทยด้วยประสิทธิภาพเหล่านี้

6 เว็บโฮสติ้งที่ดีที่สุดในประเทศไทย


  1. Hostinger – เว็บโฮสติ้งที่คุ้มค่าที่สุดในเชิงภาพรวม
  2. SiteGround  – เว็บโฮสต์ระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจที่ดีที่สุด
  1. HostAtom  – เว็บโฮสติ้ง Plesk ที่ดีที่สุด
  2. A2 Hosting – เว็บโฮสติ้งแบบไม่อั้นที่ดีที่สุด
  3. P&T Hosting – เว็บไซต์ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
  4. Bluehost  – ดีที่สุดสำหรับบล็อก WordPress
โฮสต์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย

หมายเหตุ

  • ราคาทั้งหมดที่แสดงเป็นอัตราค่าสมัครครั้งแรกนาน 12 เดือน
  • เราใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สหรัฐเท่ากับ 31 บาทสำหรับราคาทั้งหมดที่ระบุไว้
  • ราคาที่ระบุในบทความนี้คำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 USD เท่ากับ 34 บาท

hostinger

1. Hostinger TH

https://www.hostinger.in.th/
hostinger thailand

เต็งหนึ่งในรายชื่อแนะนำของเราคือ สิงโตแห่งลิทัวเนียซึ่งโด่งดังระดับโลกอย่าง Hostinger!

Hostinger ทำให้พวกเราทุกคนประหลาดใจตอนที่ได้รู้จักค่ายนี้ครั้งแรก พอเราเห็นราคาที่ตั้งไว้ (ถูกเว่อร์ไปเลย) เราก็เตรียมตัวเตรียมใจว่าระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์คงจะแย่แน่ ๆ

เราถึงกับอ้าปากค้างเมื่อเห็นประสิทธิภาพการทำงานระดับสูสีกับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งชั้นนำบางค่าย ซึ่งผลการทดสอบมักจะออกมาอยู่อันดับต้น ๆ เสมอ !

US (W)US (E)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
181 ms
236 ms
216 ms
2 ms
346 ms
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
58 ms
92 ms
77 ms
241 ms
216 ms

ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์: 166.5 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด

ทุกครั้งที่เราเจอเรื่องแย่ ๆ แค่เราได้เห็นผลการทดสอบความเร็วของ Hostinger โลกทั้งใบก็สว่างสดใสขึ้นมาทันที

เราทำการทดสอบกับศูนย์ข้อมูลของ Hostinger ในสิงคโปร์เนื่องจากเป็นศูนย์ที่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุดซึ่งเราพอใจกับผลลัพธ์มาก!

ผลการทดสอบออกมาดีมากในทุกสถานที่ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาตะวันออก แคนาดาและเซา เปาลู ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะสถานที่เหล่านี้อยู่ห่างไกลออกไปมาก

ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 166.5 มิลลิวินาทีและความเร็วเฉลี่ยในเอเชียก็สุดยอดมากที่ 76.3 มิลลิวินาที

ไม่ต้องบอกก็รู้นะครับ Hostinger ได้อันดับ A+ อย่างไม่ต้องสงสัย !

สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ Hostinger

ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งระดับสากลรายนี้จัดเต็มฟีเจอร์ให้กับลูกค้าที่ซื้อแพ็กเกจเว็บโฮสติ้งพรีเมี่ยมแบบแชร์ ซึ่งราคาถูกอย่างน่าตกใจที่ 59 บาทต่อเดือน (แพ็กเกจนาน 48 เดือน)!

ด้วยราคานี้ คุณจะได้เพลิดเพลินไปกับแบนด์วิดท์ อีเมลและเว็บไซต์ได้อย่างไม่อั้น แถมยังมีชื่อโดเมนและ SSL ฟรีให้อีกด้วย !

เรารู้สึกเหมือนว่า ค่ายนี้ให้หมดหน้าตักเลยจริง ๆ ซึ่งกล้าพูดได้เลยว่าโดนใจเราสุด ๆ สิ่งที่เจ๋งขึ้นไปอีกคือ มีบริการช่วยเหลือดูแลลูกค้าภายในประเทศตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ซึ่งหมายความว่าเราจะติดต่อสื่อสารกับทีมงานด้วยภาษาไทยนั่นเอง!

ปัจจุบัน Hostinger ยอมรับการชำระเงินด้วย PayPal บัตรเครดิตและ Bitcoin

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ Hostinger

น่าเสียดายที่ Hostinger ไม่มีบริการสำรองข้อมูลรายวันฟรีสำหรับแพ็กเกจพรีเมี่ยมแบบแชร์ บริการนี้มีให้ในฐานะบริการเสริมด้วยราคาแสนประหยัด แต่มันจะดีมากเลยถ้ามีให้ใช้ฟรีในแพ็กเกจ

ค่ายนี้ไม่มีบริการสนับสนุนผ่านทางโทรศัพท์อีกด้วย ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าเซ็งสำหรับบางคน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เกินไปสำหรับเราครับ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hostinger

  • อ่านรีวิว Hostinger แบบเจาะลึกของเรา!
  • เข้าสู่ เว็บไซต์ทดลอง Hostinger ของเรา!

2. SiteGround

https://www.siteground.com/
siteground thailand

WordPress รับรองและสร้างบนแพลตฟอร์ม Google Cloud อย่างเป็นทางการ SiteGround สมควรได้รับการยอมรับทั้งหมดที่พวกเขาได้รับในฐานะหนึ่งในโซลูชันเว็บโฮสติ้งที่เราแนะนำ

แต่คุณอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วทำไมเราถึงจัดไว้เป็นอันดับ 2 แทนที่จะเป็นอันดับ 1 ในรายการนี้

ไม่ว่าจะเรื่องของความเร็วเซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์ การใช้งานที่ง่าย ฟีเจอร์ ไปจนถึงการสนับสนุนต่าง ๆ ค่ายนี้ถือว่าเป็นเต็งหนึ่งในทุก ๆ ด้าน

แต่มันเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าของธุรกิจในไทยหรือไม่ มาดูกันครับ

US (W)US (E)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
180 ms
243 ms
171 ms
2 ms
358 ms
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
64 ms
139 ms
81 ms
242 ms
151 ms

ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์: 163.1 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด

ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกของค่ายนี้เป็นไปตามที่คาดไว้คือแค่ 163.1 มิลลิวินาทีเท่านั้น โดยให้ผลลัพธ์ช้าที่สุดในเซา เปาลูที่ 358 มิลลิวินาที

ระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์โดยเฉลี่ยในเอเชียนั้นเร็วมากที่ 71.5 มิลลิวินาที ซึ่งหมายความว่าแม้ว่าเว็บไซต์ของคุณจะโฮสต์ในสิงคโปร์ แต่ผู้เข้าชมชาวไทยของคุณก็ยังคงโหลดเว็บไซต์ของคุณได้อย่างรวดเร็ว!

ด้วยความเร็วขนาดนั้น SiteGround จึงเป็นผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งระดับ A+

สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ SiteGround

เราทำการทดสอบมากมายบน SiteGround ในแง่ของความเร็วและสถานะการออนไลน์ของเซิร์ฟเวอร์และจนถึงตอนนี้มันก็ยังทำงานได้ดี แต่นั่นไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้ SiteGround เป็นเว็บโฮสต์ระดับพรีเมียมที่แข็งแกร่ง

ค่ายนี้ทุ่มเทอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ย้ายศูนย์ข้อมูลไปใช้โครงสร้างพื้นฐานของ Google Cloud ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้เพลิดเพลินไปกับความเร็วและฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยของ Google ที่ไม่เหมือนใคร

นอกจากนี้ยังมีอะไรอีกมากมายที่โดนใจอย่างเช่น AI สวีทและ SuperCacher ที่ช่วยเพิ่มความเร็วแรง แต่สิ่งที่เราชอบมากที่สุดคือการช่วยเหลือดูแลลูกค้า

แชทสดพร้อมให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงซึ่งมีประโยชน์มาก ๆ ทีมสนับสนุนพร้อมช่วยเหลือทุกอย่างหากคุณยอมให้ทีมงานเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณได้

ปัจจุบัน SiteGround ยอมรับการชำระเงินด้วย PayPal บัตรเครดิตและบัตรเดบิต

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ SiteGround

ราคาสมัครใช้งานครั้งแรกของ SiteGround ไม่แพงเลย เพียงแค่ 216.69 บาทต่อเดือน แต่เมื่อสัญญาหมดอายุราคาต่อสัญญาจะพุ่งขึ้นไปที่ 464.69 บาทต่อเดือน

ราคานี้อาจจะหนักไปหน่อยสำหรับธุรกิจไทยที่อ่อนไหวต่อราคา

นอกจากนี้ SiteGround ก็ไม่ได้ให้โดเมนฟรี ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นติดตั้งเพิ่มขึ้นมาก

ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่ทำให้เราไม่ได้จัดค่ายนี้ให้เป็นเว็บโฮสต์อันดับ 1 ในรายการ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ SiteGround

  • อ่านรีวิว SiteGround แบบเจาะลึกของเรา!
  • เข้าสู่ เว็บไซต์ทดลอง SiteGround ของเรา!

3. HostAtom

https://www.hostatom.com/
hostatom thailand

อันดับสามในรายชื่อของเราคือแบรนด์ไทยชื่อ HostAtom! มาดูกันว่าค่ายนี้สู้กับต่างชาติได้หรือไม่ยังไง

ระหว่างที่ติดตั้งเว็บไซต์ทดลอง เราพบว่าแบรนด์เว็บโฮสติ้งของไทยที่เราชื่นชอบรายนี้มีศูนย์ข้อมูล 4 แห่ง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเลือกศูนย์ข้อมูลในไทยสำหรับการทดสอบความเร็ว

US (W)US (E)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
209 ms
548 ms
200 ms
32 ms
362 ms
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
92 ms
162 ms
111 ms
268 ms
203 ms

ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในไทย: 218.7 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด

ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกของ HostAtom อาจจะต้องปรับปรุงอีกนิด โดยเฉพาะในพื้นที่โลกตะวันตกเกือบทั้งหมด

ระยะเวลาในการตอบสนองในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียค่อนข้างดีโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 99.3 มิลลิวินาที

หากคุณเลือกที่จะสร้างเว็บไซต์ด้วย HostAtom ผู้เข้าชมที่เป็นคนไทยรวมถึงคนในประเทศโดยรอบน่าจะพอใจ กับความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ !

ขอให้จำไว้ว่า คนในภูมิภาคอื่นอาจจะไม่ชอบใจเนื่องจากระยะเวลาตอบสนองจะช้าลงเรื่อย ๆ ตามระยะทางที่ห่างจากที่ตั้งของคุณ

สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ HostAtom

จากที่เราได้ลองใช้บริการเว็บโฮสติ้งแบรนด์ไทยหลายราย เราค่อนข้างพอใจกับอินเทอร์เฟสผู้ใช้ของ HostAtom ทุกอย่างถูกจัดวางอย่างดีจนใช้งานได้ง่ายมาก เราไม่มีปัญหาอะไรเลยในการท่องเว็บไซต์

อันที่จริง เรารู้สึกว่า HostAtom เป็นผู้ให้บริการแบรนด์ไทยเพียงรายเดียวที่มอบประสบการณ์ให้กับผู้ใช้ได้ในระดับเทียบเท่ากับแบรนด์ต่างประเทศได้

นอกจากนี้ ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้ายังพูดภาษาไทยด้วย ฉะนั้น การสื่อสารยิ่งไม่น่าเป็นปัญหาหากคุณต้อง การความช่วยเหลือ

เรายังชอบที่ HostAtom รองรับวิธีการชำระเงินที่เป็นมิตรกับคนไทย เช่น การโอนเงินผ่านธนาคารหรือผ่านตู้เอทีเอ็ม นอกจากนี้ยังรับชำระเงินด้วย PayPal และบัตรเครดิต

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ HostAtom

HostAtom ใช้ Plesk เป็นแผงควบคุมแทน cPanel ในขณะที่บางคนอาจจะชอบ Plesk มากกว่า แต่เราชอบอย่างหลังมากกว่าและอยากจะให้มีทางเลือกว่าเราจะใช้ตัวไหนก็ได้

ค่ายนี้ประกาศว่า ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน แต่ไม่พบปุ่มแชทสดเลย อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนทางอีเมลตอบกลับได้ค่อนข้างรวดเร็วและมีการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่พร้อมให้บริการตลอดเวลา

อย่าลืมเผื่อเงินไว้ซื้อโดเมนด้วยเพราะไม่ได้ให้ฟรีในแพ็กเกจบริการเว็บโฮสติ้ง และคุณอาจจะต้องเผื่อเงินไว้อีกหน่อยเพราะราคา 124 บาทต่อเดือนนั้นยังไม่รวมภาษี

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ HostAtom

  • เข้าสู่ เว็บไซต์ทดลอง HostAtom ของเรา!
  • ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์หลักของ HostAtom!
a2 hosting small logo

4. A2 Hosting

https://www.a2hosting.com/

A2 เป็นหนึ่งในบริการเว็บโฮสติ้งที่ดีที่สุดในขณะนี้โดยได้รับรางวัลมากมายทั้งด้านความเร็ว บริการและความพยายามในการช่วยโลก

เราได้สร้างเว็บไซต์ทดลองด้วยแพ็กเกจ Drive ของค่ายนี้ซึ่งไม่แปลกที่เราจะพอใจกับประสิทธิภาพอย่างเต็มเปี่ยม !

US (W)US (E)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
186 ms
270 ms
155 ms
2 ms
365 ms
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
59 ms
94 ms
75 ms
255 ms
168 ms

ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์: 162.9 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด

A2 Hosting มีศูนย์ข้อมูล 4 แห่งเพื่อให้บริการผู้ใช้ทั่วโลกและศูนย์ข้อมูลที่ใกล้ที่สุดสำหรับเราคือศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ที่ซึ่งเว็บไซต์ทดลองของเราโฮสต์อยู่

เราค่อนข้างพอใจกับระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ซึ่งในเอเชียเฉลี่ยอยู่ที่ 57.5 มิลลิวินาที ถือว่าเร็วที่สุดเท่าที่เราเคยทดสอบมา

ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกของค่ายนี้ก็ค่อนข้างเยี่ยมคือที่ 162.9 มิลลิวินาทีซึ่งจัดเป็นเว็บโฮสต์ในระดับ A+!

สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ A2 Hosting

นอกเหนือจากระยะเวลาตอบสนองอันยอดเยี่ยมแล้ว แพ็กเกจ Drive ของ A2 ยังอัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพความเร็ว อย่างเช่น พื้นที่เก็บข้อมูล SSD และซอฟต์แวร์เสริมประสิทธิภาพในแบบของ A2

นอกจากนี้ ทางค่ายยังให้ลูกค้าแบบไม่อั้นไม่ว่าจะเว็บไซต์ อีเมล การถ่ายโอนข้อมูล โดเมนรองและพื้นที่จัดเก็บ RAID-10

คุณรู้ได้เลยว่า ค่ายนี้เป็นเว็บโฮสต์ที่เชื่อถือได้เพราะรับประกันช่วงเวลาให้บริการได้ถึง 99.9% !

ปัจจุบัน A2 Hosting รับการชำระเงินด้วย PayPal บัตรเครดิตและการโอนเงินผ่านธนาคาร

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ A2 Hosting

สาเหตุหนึ่งที่ A2 ไม่อยู่ในอันดับที่สูงกว่านี้ในรายการนี้เป็นเพราะการช่วยเหลือดูแลลูกค้า…ค่อนข้างช้า เรารอนานกว่า 20 นาทีกว่าจะมีการตอบรับจากแชทสด และเมื่อติดต่อกลับมา เจ้าหน้าที่ก็ออกจะไม่ค่อยมีสมาธิในการฟังสักเท่าไหร่

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ก็ไม่พูดภาษาไทย ฉะนั้น เผื่อใจสำหรับความหงุดหงิดไว้ด้วยเมื่อต้องการความช่วยเหลือ หากคุณตัดสินใจโฮสต์กับค่ายนี้

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ A2 Hosting

  • อ่านรีวิว A2 Hosting แบบเจาะลึกของเรา!
  • เข้าสู่ เว็บไซต์ทดลอง A2 Hosting ของเรา!

5. P&T Hosting

https://www.pathosting.co.th/

ถัดมาในรายชื่อของเรา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นชื่อที่คุณบางคนน่าจะคุ้นเคยนั่นคือ P&T Hosting

ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งของไทยที่ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งรับประกันคุณภาพพร้อมการช่วยเหลือดูแลลูกค้าที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

จนถึงปัจจุบัน ค่ายนี้ให้บริการลูกค้ามากกว่า 8000 ราย เว็บไซต์ 6500 แห่งและตัวเลขก็ไม่มีวี่แววว่าจะลดลง

US (W)US (E)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
209 ms
281 ms
199 ms
32 ms
385 ms
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
88 ms
216 ms
110 ms
265 ms
194 ms

ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในไทย: 197.9 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด

P&T ทำได้ดีมากในเอเชียโดยมีความเร็วเฉลี่ย 111.5 มิลลิวินาทีในการทดสอบของเรา

ค่าความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกก็แจ๋วไม่แพ้กันโดยผลการทดสอบความเร็วอยู่ที่ 197.9 มิลลิวินาที ค่ายนี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งระดับ A !

ในเรื่องของความเร็ว คุณไม่มีอะไรต้องกังวลหากอยู่ในประเทศไทย แต่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนีอาจจะรู้สึกว่าเว็บไซต์ของคุณช้าจนยากจะได้ใจ

สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ P&T Hosting

เห็นได้ชัดว่า P&T Hosting มีระยะเวลาตอบสนองที่รวดเร็วในเอเชีย แต่นั่นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เราตัดสินใจรวมเอาค่ายนี้ไว้ในรายชื่อนี้ด้วย

นอกเหนือจากบัตรเครดิต เราชอบที่ P&T ยังยอมรับตัวเลือกการชำระเงินอื่น ๆ เช่น PayPal การโอนเงินผ่านธนาคารออนไลน์และการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ตามร้าน 7-11

ฟีเจอร์แชทสดก็เป็นข้อดีเช่นกัน แต่มีอยู่วันศุกร์หนึ่งที่เราพยายามเข้าถึงแชทสดในช่วงเวลา 16.30 น. ดูเหมือนว่าระบบจะไม่ทำงาน ก็หวังว่าจะไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ

อินเทอร์เฟสผู้ใช้ที่พัฒนาขึ้นมาเองก็ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ช่วยให้ติดตั้ง WordPress ได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับมือใหม่จริง ๆ!

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ P&T Hosting

มันค่อนข้างน่าผิดหวังที่ P&T ไม่ค่อยมีฟีเจอร์อะไรมากนัก ด้วยแพ็กเกจ 1500 เราสามารถโฮสต์เว็บไซต์ได้เพียง 1 เว็บ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับผู้ที่วางแผนจะโฮสต์หลายเว็บไซต์

เผื่อเงินไว้ซื้อโดเมนด้วยเพราะไม่มีให้ฟรี

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ P&T Hosting

  • ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์หลักของ P&T Hosting!

bluehost small logo

6. Bluehost

https://www.bluehost.com/
bluehost thailand

Bluehost เป็นผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่เก่าแก่ที่สุดในบทความนี้โดยดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 1996 แน่นอนว่าด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี ค่ายนี้ก็น่าจะเชี่ยวชาญด้านนี้ใช่ไหมล่ะครับ

มาดูกันเลยครับ !

US (W)US (E)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
25 ms
57 ms
150 ms
195 ms
189 ms
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
262 ms
171 ms
127 ms
88 ms
170 ms

ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในสหรัฐฯ: 143.4 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด

จากผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งทั้งหมดในบทความนี้ ระยะเวลาตอบสนองโดยเฉลี่ยของ Bluehost ช้าที่สุดในเอเชียที่ 188.8 มิลลิวินาที อย่าลืมว่าช้าที่สุดไม่ได้หมายความว่าช้าและยังผ่านข้อกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของเว็บอีกต่างหาก !

อย่างไรก็ตาม ค่าความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกของค่ายนี้เร็วที่สุดในรายชื่อทั้งหมดนี้ที่ 143.4 มิลลิวินาที ซึ่งจัดอยู่ในผู้ให้บริการระดับ A+

จากข้อมูลนี้เห็นได้ชัดว่า Bluehost ไม่มีศูนย์ข้อมูลในเอเชีย แต่หากคุณเลือกที่จะโฮสต์กับค่ายนี้ คุณก็ยังจะได้เพลิดเพลินไปกับความเร็วที่เหมาะสมทั่วโลก

สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ Bluehost

แพ็กเกจระดับเริ่มต้นของค่ายนี้มีราคาค่อนข้างย่อมเยาที่ 153.45 บาทต่อเดือน และก็ค่อนข้างคุ้มค่าด้วย SSL ฟรี โดเมนฟรี (ปีแรกเท่านั้น) และพื้นที่จัดเก็บ SSD 50 GB สำหรับความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ที่รวดเร็ว

เรารู้สึกสะดวกสบายกับการใช้ cPanel ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าตั้งใจทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันและช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ค่อนข้างรวดเร็ว

ปัจจุบัน Bluehost ยอมรับการชำระเงินด้วย PayPal และบัตรเครดิต

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ Bluehost

หากคุณเจอกับปริมาณการเข้าชมเว็บที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน Bluehost อาจจะควบคุมปริมาณการเข้าขมเว็บไซต์ของคุณเพื่อปกป้องเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ร่วมกันกับคุณ สิ่งนี้จะทำให้ความเร็วในการโหลดช้าลงและจะทำให้คุณเสียโอกาสในการขายของอย่างแน่นอน

หากปริมาณการเข้าชมพุ่งสูงต่อเนื่อง ค่ายนี้อาจระงับเว็บไซต์ของคุณด้วย นับว่าเป็นข่าวร้ายหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bluehost

ทำไมต้องเริ่มธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย

เพื่อประโยชน์ของผู้อ่านของเราที่กำลังสองจิตสองใจเกี่ยวกับ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ลองมาดูกันว่าทำไมธุรกิจไทยส่วนใหญ่จึงเริ่มสร้างเว็บไซต์ของตัวเองและทำไมคุณจึงควรทำเช่นนั้น

อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยสูงมาก!

ประการแรก ประเทศไทยมีประชากรมากถึง 69.8 ล้านคน (ณ ปี 2020) จากจำนวนนี้ 81% ของประชากรทั้งหมดเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ (นั่นคือ 56 ล้านคนนั่นเอง)

ลองเดาดูสิครับว่า ในจำนวนนี้มีบัญชี Facebook กี่คน 65.9% ครับ ประชากรกว่าครึ่งชอบใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทั้งนี้จากข้อมูลของ สถิติโลกอินเทอร์เน็ต

ปรากฏการณ์นี้ถือเป็นความก้าวหน้าตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับการปรับปรุงให้รวดเร็วขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อันที่จริง ความเร็วอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยของเราคือ 171.45 Mbps เร็วเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนและดูเหมือนจะเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลกซึ่งเอาชนะเกาหลีใต้ได้!

(ที่มา: https://www.speedtest.net/global-index/)

เศรษฐกิจผู้บริโภคออนไลน์ของไทยมีมูลค่าหลายพันล้าน

“ว่าแต่ตัวเลขพวกนี้เกี่ยวอะไรกับการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ของฉันล่ะ?”

คุณเห็นไหมว่า ตัวเลขทั้งหมดนี้บอกเล่าเรื่องราวซึ่งเป็นเรื่องราวที่บอกว่า คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับการซื้อของออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ

จากข้อมูลของ Hootsuite พบว่า 85% ของประชากรที่ชอบท่องอินเทอร์เน็ตซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการทางออนไลน์ในช่วงเดือนกันยายน 2019

(ที่มา: https://datareportal.com/)

อันที่จริงแล้ว Statista.com แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจผู้บริโภคออนไลน์ของไทยมีมูลค่า 8.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018 รู้ไหมครับ… นั่นคิดเป็นเงิน 264,628,900,000.00 บาท ผมนับเลขศูนย์ไม่ถูกเลย มันเยอะไปหมด

ผมไม่รู้ว่าคุณคิดยังไงนะครับ แต่ตัวเลขเหล่านี้ทำให้ผมตื่นเต้นจนอยากกระโดดเข้าสู่วงการอีคอมเมิร์ซเลยทีเดียว

ช่วงเวลาที่ท้าทายรอธุรกิจไทยอยู่ข้างหน้า

ดูเหมือนสภาพการณ์ทางธุรกิจในดินแดนแห่งรอยยิ้มจะไม่สดใสนักนะครับ

นอกเหนือจากความไม่มั่นคงทางการเมือง (ผลกระทบจากการรัฐประหารในปี 2006 และ 2014 ยังคงรู้สึกได้ในปัจจุบัน) ประเทศไทยยังเผชิญกับ ภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด ในรอบ 40 ปีซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากร 11 ล้านคนในภาคเกษตรกรรม

คาดกันว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จะต้องปิดตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธุรกิจเหล่านี้สายป่านไม่ยาวพอจะฟันฝ่าช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้

อันที่จริง ปัญหาอันหนักหน่วงกำลังรออยู่ข้างหน้าสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก โดยคาดการณ์กันว่ากว่า 70% ของธุรกิจขนาดเล็กจะล้มภายในสองสามปีข้างหน้า

เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด โลกยังซ้ำเติมมนุษย์และไม่สนใจบรรทัดฐานทางสังคมใด ๆ ทั้งสิ้นด้วยการส่งโรคระบาดครั้งใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือ การระบาดของโควิด-19 นั่นเอง

การระบาดครั้งนี้บีบให้ระบบเศรษฐกิจต้องปิดตัวลงโดยที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากไม่เหลือทางเลือกอื่นนอกจากต้องปิดกิจการอย่างถาวรท่ามกลางสถานการณ์ที่รอหายนะ

(ที่มา: https://www2.deloitte.com/)

นอกจากนี้ ตัวเลขคาดการณ์ GDP ก็ติดลบเนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ซึ่งเราพึ่งพามาก) ต้องหยุดชะงักเนื่องจากโควิด-19

สภาพการณ์ในไทยไม่เคยเอื้อต่ออีคอมเมิร์ซมากขนาดนี้!

ผมรู้ว่า มันดูเหมือนทุกอย่างกำลังรอวันพังพินาศ แต่เรารับรองว่าจะมีเรื่องราวดี ๆ เกิดขึ้นหลังจากเรื่องร้ายผ่านพ้นไปอย่างแน่นอน

การแพร่ระบาดครั้งนี้ทำให้ผู้คนต้องอยู่บ้านเพื่อให้รอดจากการติดเชื้อ ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมองหาช่องทางออนไลน์เพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน

บริการจัดส่งอาหารกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถ้าดูจากคนขับรถส่งอาหารต้องขับรถส่งอาหารตามคำสั่งซื้อมากถึง 15 รายการในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง การช้อปปิ้งออนไลน์ก็สูงขึ้นอย่างชัดเจนโดยเห็นได้จาก Lazada ประเทศไทยมี ยอดขายเพิ่มขึ้น 100% ในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ช่วงนี้คือช่วงเวลาที่ดีสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างที่คุณใฝ่ฝันมาตลอดเนื่องจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเร็วพอที่ผู้คนจะยอมรับการช็อปปิ้งออนไลน์ได้อย่างไม่ขัดอกขัดใจ และมากกว่า 80% ของคนไทยชื่นชอบอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว

ผมรู้ว่า คุณบางคนที่กำลังอ่านบทความนี้กังวลเกี่ยวกับเรื่องโลจิสติกส์ของอีคอมเมิร์ซ แต่เรารับรองได้เลยว่าไม่มีอะไรต้องกังวล

บริษัทโลจิสติกส์ทั้งในและต่างประเทศอย่างเช่น Kerry Express กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศไทยเนื่องจาก Alibaba มองไทยเป็นศูนย์กลางอีคอมเมิร์ซ

พูดง่าย ๆ นะครับ ประเทศไทยพร้อมแล้วที่จะให้ธุรกิจของคุณก้าวไปสู่ดิจิทัล สิ่งที่คุณต้องทำตอนนี้คือ มองหาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ตอบโจทย์

จะเลือกเว็บโฮสติ้งที่ดีในไทยได้อย่างไร

ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่รวดเร็วและเชื่อถือได้เป็นสิ่งสำคัญมากหากคุณต้องการให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณประสบความสำเร็จ

จากข้อมูลของ thinkwithgoogle คน 32% จะออกจากเว็บไซต์หากใช้เวลาโหลดนานกว่า 3 วินาที

นั่นหมายความว่า เว็บไซต์ที่ช้าจะสูญเสียโอกาสทำกำไรอย่างน้อย 32%!

คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่า เว็บโฮสต์มีคุณสมบัติตรงตาม ข้อกำหนดตัวชี้วัดหลักสำหรับการทำงานของเว็บไซต์! ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 อย่าง :

  • ตัวชี้วัดความเสถียรของหน้าเว็บไซต์ (CLS)
  • เวลาที่ใช้ในการแสดงเนื้อหาทั้งหมด (LCP)
  • ตัวชี้วัดการตอบสนองของผู้ใช้งาน (FID)

จาก 3 ตัวชี้วัดนี้ สองตัวหลังขึ้นอยู่กับความเร็วในการโหลดเป็นอย่างมาก!

google core web vitals

หากเว็บไซต์ของคุณทำงานได้ไม่ดีพอที่จะเป็นไปตามข้อกำหนดเหล่านี้ เว็บของคุณจะหลุดจากอันดับต้น ๆ ของการแสดงผลจากการค้นหาผ่าน Google ซึ่งหมายความว่าคุณอาจจะสูญเสียโอกาสในการขายหลายพัน ครั้งเลยทีเดียว ลองคิดดูสิครับว่าครั้งสุดท้ายที่คุณคลิกไปหน้าที่ 2 ของผลการค้นหาใน Google นั้นนานแค่ไหนแล้ว

เราจะมาดูปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลให้บริการเว็บโฮสติ้งเป็นบริการที่ดี

1. ความเร็ว

อย่างที่ได้พูดไปก่อนหน้านี้ ความเร็วมีความสำคัญสูงสุดในการเลือกเว็บโฮสต์ หากโหลดช้าเกินไป ผู้ซื้อจะออกไปจากเว็บของคุณ และคุณจะไม่ติดอันดับในการค้นหาของ Google

พูดอีกอย่างคือ ความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของคุณส่งผลต่อกำไรของคุณโดยตรง !

สิ่งหนึ่งที่ส่งผลต่อระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์คือ ตำแหน่งระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับผู้เข้าชมเว็บของคุณ ยิ่งใกล้กันเท่าไหร่ ก็ยิ่งตอบสนองเร็วมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งศูนย์ข้อมูลอยู่ห่างออกไปเท่าไหร่ ผู้เข้าชมเว็บของคุณก็จะยิ่งเจอกับการโหลดที่ช้าลงเท่านั้น

2. การช่วยเหลือดูแลลูกค้า

คุณต้องการทีมสนับสนุนที่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะจัดการกับทุกปัญหาและต้องอดทนพอกับการรับฟังคำถามโง่ ๆ (คุณไม่ควรกลัวที่จะถาม ไม่ว่ามันจะดูงี่เง่าแค่ไหนก็ตาม)

ตรวจสอบดูว่า บริการช่วยเหลือลูกค้ามีแชทสดตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันหรือไม่ และใช้เวลานานแค่ไหนในการตอบกลับอีเมลที่คุณส่งคำถามเข้าไป ฯลฯ

3. ช่วงเวลาให้บริการ

คุณต้องการผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่รับประกันช่วงเวลาให้บริการเนื่องจากหากเว็บไซต์ของคุณล่มไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม มันก็ไม่คุ้มค่าเงินที่คุณจ่ายไป แถมคุณยังสูญเสียโอกาสทำกำไรเพราะผู้ซื้อไม่สามารถซื้อของผ่านเว็บไซต์ของคุณได้!

ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่เชื่อถือได้จะรับประกันช่วงเวลาให้บริการเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณจะไม่ล่ม!

4. ความปลอดภัย

ชื่อเสียงของเว็บไซต์ของคุณจะเสียหายอย่างไม่สามารถแก้ไขได้ หากคุณสูญเสียข้อมูลอันมีค่าของลูกค้าเนื่องจากการโจมตีจากแฮกเกอร์!

คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า เว็บโฮสติ้งของคุณมีข้อมูลรับรองความปลอดภัยที่เข้มงวดและอย่างน้อยก็มีการ
สแกนมัลแวร์อัตโนมัติ

จะเจ๋งมากหากให้ SSL ฟรี!

5. ความคุ้มค่า

ประการสุดท้ายแต่สำคัญไม่แพ้กัน เราจะพิจารณาถึงความคุ้มค่า ไม่มีใครชอบการจ่ายเงินมากเกินไปสำหรับฟีเจอร์ที่ไม่เคยใช้ แต่การใช้บริการราคาถูกก็อาจเป็นหายนะได้ในระยะยาว

เห็นได้ชัดว่าเราทุกคนต้องการสิ่งที่ราคาไม่แพงแต่ดี และนั่นก็เป็นอะไรที่ตัดสินยากเว้นแต่คุณจะได้ลองใช้บริการทั้งหมดจริง ๆ

ใช้บริษัทเว็บโฮสติ้งในประเทศหรือต่างประเทศดี

การเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับธุรกิจไทย

ปัญหาประการหนึ่งคือ ควรเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งในประเทศหรือต่างประเทศ มาดูสิ่งที่คนทั่วไปกังวลกันและความคิดของเราเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้

1. ทำไมต้องใช้ของต่างประเทศเมื่อมีบริการเว็บโฮสติ้งในประเทศ

จากมุมมองของเรา ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการช็อปปิ้งราคาประหยัดระดับนานาชาติ ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกทั้งมาเลเซีย กัมพูชาหรือสิงคโปร์ซึ่งมาเยือนไทยเพื่อซื้อเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ งานศิลปะและอาหารที่ไม่เหมือนใครในราคาจับต้องได้

นักท่องเที่ยวจากอินเดียเพิ่มขึ้น 22% ในปี 2019!

เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว คุณจะต้องมั่นใจให้ได้ว่า ร้านค้าออนไลน์ของคุณสามารถรองรับผู้เข้าชมจากภูมิภาคใกล้เคียงได้ เนื่องจากพวกเขายังคงต้องการซื้อสินค้าที่ผลิตในไทย

ตราบใดที่ศูนย์ข้อมูลสำหรับบริการเว็บโฮสติ้งต่างประเทศตั้งอยู่ในประเทศใกล้ ๆ เราอย่างสิงคโปร์ ผู้ซื้อในและต่างประเทศของเราก็ควรจะเพลิดเพลินไปกับความเร็วที่รวดเร็วบนเว็บไซต์ของเราได้

2. จะเป็นยังไงถ้าผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งต่างประเทศพูดภาษาไทยไม่ได้

การใช้บริการเว็บโฮสติ้งแบรนด์ไทยอาจจะช่วยให้การสื่อสารเข้าใจกันมากขึ้นเมื่อต้องติดต่อฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้า แต่คุณภาพของการช่วยเหลือก็สำคัญเช่นกัน

แบรนด์เว็บโฮสติ้งระดับนานาชาติมักจะมาพร้อมกับทีมสนับสนุนฝีมือเจ๋งซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้ แต่พวกเขาอาจไม่สามารถพูดภาษาไทยได้

วิธีแก้ปัญหาของเราคือ ใช้ Google Translate เพื่อพูดคุยกับพวกเขา

มันไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดแต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในช่วงที่เราติดตั้งเว็บไซต์ของเราในเวียดนามมาเลเซีย อเมริกาและเม็กซิโก

3. จะขอโดเมน .TH ได้หรือไม่

จากประสบการณ์ของเรา การได้โดเมน .th เป็นสิ่งที่ดีและทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก

หลัก ๆ แล้ว เจ้าของบริษัทจะต้องแสดงเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัทเพียงเพื่อซื้อชื่อโดเมน. th และชื่อบริษัทนั้นสามารถใช้ได้กับโดเมน .th เดียวเท่านั้น

ฉะนั้น เราจึงไม่แปลกใจที่เห็นเว็บไซต์ยอดนิยม เช่น sanook.com และ pantip.com ใช้ชื่อโดเมน .com แบบที่เห็นกันทั่วไปเนื่องจากไม่ยุ่งยากและสะดวกกว่า

ในความเห็นของคนตัวเล็ก ๆ อย่างเรา โดเมน .th เป็นเรื่องไม่จำเป็น เว้นแต่คุณต้องการจะสร้างเว็บไซต์ที่เปิดตัวอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ อย่าง Lazada และต้องการคงตัวตนความเป็นไทยไว้

4. ฉันซื้อบริการเว็บโฮสติ้งต่างประเทศโดยไม่ใช้บัตรเครดิตได้หรือไม่

เห็นได้ชัดว่า คนไทยส่วนใหญ่ยัง ไม่ค่อยสะดวกใจในการใช้บัตรเครดิต เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ฉะนั้น จึงควรตรวจสอบดูว่าผู้ให้บริการที่คุณต้องการใช้สามารถรับการชำระเงินในรูปแบบอื่นได้หรือไม่

5. ฉันควรใช้บริการเอเจนซี่เว็บไซต์หรือบริการเว็บโฮสติ้ง

เอเจนซี่เว็บโฮสติ้งเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มคนไทย แต่โดยปกติแล้วจะมีค่าใช้จ่าย เราคิดว่าเอเจนซี่เหล่านี้ดีและให้ความสะดวกสบายก็จริง แต่โดยหลัก ๆ แล้วคุณต้องจ่ายค่าบริการที่ไม่จำเป็นจริง ๆ

ตามความเห็นของเรา ทุกวันนี้เว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถสร้างและตั้งค่าได้ง่ายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามารถติดตั้ง WordPress ได้ในคลิกเดียว และถึงที่สุดแล้ว เอเจนซี่จะให้คุณเลือกกำหนดรูปแบบเว็บไซต์ของคุณเองอยู่ดีซึ่งอาจจะลงท้ายด้วยการที่คุณต้องตั้งค่าด้วยตัวเองนั่นเอง

ส่วนบริษัทเว็บโฮสติ้งให้ความคุ้มค่ามากกว่าเพราะคุณแค่จ่ายสำหรับชื่อโดเมนและบริการเว็บโฮสติ้งเท่านั้น

หากคุณกังวลว่า คุณไม่มีทักษะหรือความรู้พอที่จะสร้างเว็บไซต์อย่างถูกต้อง เคล็ดลับก็คือ ขอให้ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าจัดการให้เลยครับ พวกเขาจะทำงานให้เสร็จโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สิ่งที่คุณต้องทำก็คือกำหนดรูปแบบเว็บไซต์ของคุณซึ่งก็ไม่ต่างจากการใช้บริการเอเจนซี่ เพียงแต่จ่ายในราคาที่ถูกกว่ามาก!

เราทดสอบความเร็วเว็บโฮสต์อย่างไร

เพื่อจัดทำรายชื่อนี้ เราได้ซื้อบริการเว็บโฮสติ้งจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ สร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อการทดสอบโดยเฉพาะและวัดระยะเวลาตอบสนองโดยใช้ ตัววัดความเร็วเซิร์ฟเวอร์ ของเราเอง

จากนั้นเราจึงนำผลการทดสอบเหล่านั้นมาใช้ในการจัดอันดับเว็บโฮสต์แต่ละรายโดยมีตั้งแต่อันดับ A+ ถึง E โดยพิจารณาจากระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ 10 แห่งทั่วโลก

คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์ของเราและวิธีวัดความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของเราได้ ที่นี่

บทสรุป: เว็บโฮสติ้งใดดีที่สุดสำหรับประเทศไทย

มาทบทวนตัวเลือกเว็บโฮสติ้ง 3 อันดับแรกที่เหมาะกับธุรกิจไทยกันครับ

HostingerSiteGroundHostatom
ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกA+A+B+
ความเร็วในเอเชีย76.3 ms71.5 ms99.3 ms
ราคา (บาท/เดือน)฿105฿217฿124
ดูคุณสมบัติทั้งหมด

ผู้ให้บริการทุกรายที่คุณเห็นในรายการนี้สามารถพาธุรกิจของคุณไปสู่จุดสูงสุดด้วยความเร็วและบริการที่ยอดเยี่ยม

สิ่งที่สำคัญจริง ๆ คือ คุณต้องการอะไรและลำดับความสำคัญให้ชัดเจน ความเร็วและยอดขายสำคัญที่สุดใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ให้เลือกผลการทดสอบความเร็วที่เร็วที่สุด

ราคามีผลต่อการตัดสินใจของคุณมากน้อยแค่ไหน คุณสามารถเลือกรายที่ไม่แพงเกินไปแต่ยังเร็วพอสมควร

หากคุณยังไม่ทราบว่าคุณต้องการอะไร เลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่มีความสมดุลระหว่างความเร็ว ราคาและฟีเจอร์

(กลับไปด้านบน)