เว็บโฮสต์อันดับ 1 ในประเทศไทยของเราคือ Hostinger ที่ให้คุณได้เพลิดเพลินไปกับเว็บโฮสติ้งอันเร็วแรงพร้อมโดเมนและ SSL ฟรีในราคาเพียง 59 บาทต่อเดือน!
จากข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานที่เรารวบรวมมาจากเว็บไซต์ทดลองเว็บโฮสติ้งกว่า 47 แห่ง เรามั่นใจที่จะ นำเสนอเว็บโฮสต์ 6 อันดับแรกที่เหมาะกับเว็บไซต์ในประเทศไทย
ซึ่งล้วนมีช่วงเวลาการให้บริการสูงกว่า 99% และความเร็วเซิร์ฟเวอร์เอเชียเฉลี่ยน้อยกว่า 200 ms รับรองว่าเว็บไซต์ของคุณพร้อมที่จะเจาะตลาดดิจิทัลของประเทศไทยด้วยประสิทธิภาพเหล่านี้
6 เว็บโฮสติ้งที่ดีที่สุดในประเทศไทย
- Hostinger – เว็บโฮสติ้งที่คุ้มค่าที่สุดในเชิงภาพรวม
- SiteGround – เว็บโฮสต์ระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจที่ดีที่สุด
- HostAtom – เว็บโฮสติ้ง Plesk ที่ดีที่สุด
- A2 Hosting – เว็บโฮสติ้งแบบไม่อั้นที่ดีที่สุด
- P&T Hosting – เว็บไซต์ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
- Bluehost – ดีที่สุดสำหรับบล็อก WordPress

หมายเหตุ
- ราคาทั้งหมดที่แสดงเป็นอัตราค่าสมัครครั้งแรกนาน 12 เดือน
- เราใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สหรัฐเท่ากับ 31 บาทสำหรับราคาทั้งหมดที่ระบุไว้
- ราคาที่ระบุในบทความนี้คำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 USD เท่ากับ 34 บาท
1. Hostinger TH
https://www.hostinger.in.th/เต็งหนึ่งในรายชื่อแนะนำของเราคือ สิงโตแห่งลิทัวเนียซึ่งโด่งดังระดับโลกอย่าง Hostinger!
Hostinger ทำให้พวกเราทุกคนประหลาดใจตอนที่ได้รู้จักค่ายนี้ครั้งแรก พอเราเห็นราคาที่ตั้งไว้ (ถูกเว่อร์ไปเลย) เราก็เตรียมตัวเตรียมใจว่าระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์คงจะแย่แน่ ๆ
เราถึงกับอ้าปากค้างเมื่อเห็นประสิทธิภาพการทำงานระดับสูสีกับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งชั้นนำบางค่าย ซึ่งผลการทดสอบมักจะออกมาอยู่อันดับต้น ๆ เสมอ !
US (W) | US (E) | ลอนดอน | สิงคโปร์ | เซาเปาลู |
---|---|---|---|---|
181 ms | 236 ms | 216 ms | 2 ms | 346 ms |
บังคาลอร์ | ซิดนีย์ | ญี่ปุ่น | แคนาดา | เยอรมนี |
58 ms | 92 ms | 77 ms | 241 ms | 216 ms |
ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์: 166.5 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด
ทุกครั้งที่เราเจอเรื่องแย่ ๆ แค่เราได้เห็นผลการทดสอบความเร็วของ Hostinger โลกทั้งใบก็สว่างสดใสขึ้นมาทันที
เราทำการทดสอบกับศูนย์ข้อมูลของ Hostinger ในสิงคโปร์เนื่องจากเป็นศูนย์ที่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุดซึ่งเราพอใจกับผลลัพธ์มาก!
ผลการทดสอบออกมาดีมากในทุกสถานที่ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาตะวันออก แคนาดาและเซา เปาลู ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะสถานที่เหล่านี้อยู่ห่างไกลออกไปมาก
ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 166.5 มิลลิวินาทีและความเร็วเฉลี่ยในเอเชียก็สุดยอดมากที่ 76.3 มิลลิวินาที
ไม่ต้องบอกก็รู้นะครับ Hostinger ได้อันดับ A+ อย่างไม่ต้องสงสัย !
สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ Hostinger
ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งระดับสากลรายนี้จัดเต็มฟีเจอร์ให้กับลูกค้าที่ซื้อแพ็กเกจเว็บโฮสติ้งพรีเมี่ยมแบบแชร์ ซึ่งราคาถูกอย่างน่าตกใจที่ 59 บาทต่อเดือน (แพ็กเกจนาน 48 เดือน)!
ด้วยราคานี้ คุณจะได้เพลิดเพลินไปกับแบนด์วิดท์ อีเมลและเว็บไซต์ได้อย่างไม่อั้น แถมยังมีชื่อโดเมนและ SSL ฟรีให้อีกด้วย !
เรารู้สึกเหมือนว่า ค่ายนี้ให้หมดหน้าตักเลยจริง ๆ ซึ่งกล้าพูดได้เลยว่าโดนใจเราสุด ๆ สิ่งที่เจ๋งขึ้นไปอีกคือ มีบริการช่วยเหลือดูแลลูกค้าภายในประเทศตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ซึ่งหมายความว่าเราจะติดต่อสื่อสารกับทีมงานด้วยภาษาไทยนั่นเอง!
ปัจจุบัน Hostinger ยอมรับการชำระเงินด้วย PayPal บัตรเครดิตและ Bitcoin
สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ Hostinger
น่าเสียดายที่ Hostinger ไม่มีบริการสำรองข้อมูลรายวันฟรีสำหรับแพ็กเกจพรีเมี่ยมแบบแชร์ บริการนี้มีให้ในฐานะบริการเสริมด้วยราคาแสนประหยัด แต่มันจะดีมากเลยถ้ามีให้ใช้ฟรีในแพ็กเกจ
ค่ายนี้ไม่มีบริการสนับสนุนผ่านทางโทรศัพท์อีกด้วย ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าเซ็งสำหรับบางคน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เกินไปสำหรับเราครับ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hostinger
- อ่านรีวิว Hostinger แบบเจาะลึกของเรา!
- เข้าสู่ เว็บไซต์ทดลอง Hostinger ของเรา!
2. SiteGround
https://www.siteground.com/WordPress รับรองและสร้างบนแพลตฟอร์ม Google Cloud อย่างเป็นทางการ SiteGround สมควรได้รับการยอมรับทั้งหมดที่พวกเขาได้รับในฐานะหนึ่งในโซลูชันเว็บโฮสติ้งที่เราแนะนำ
แต่คุณอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วทำไมเราถึงจัดไว้เป็นอันดับ 2 แทนที่จะเป็นอันดับ 1 ในรายการนี้
ไม่ว่าจะเรื่องของความเร็วเซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์ การใช้งานที่ง่าย ฟีเจอร์ ไปจนถึงการสนับสนุนต่าง ๆ ค่ายนี้ถือว่าเป็นเต็งหนึ่งในทุก ๆ ด้าน
แต่มันเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าของธุรกิจในไทยหรือไม่ มาดูกันครับ
US (W) | US (E) | ลอนดอน | สิงคโปร์ | เซาเปาลู |
---|---|---|---|---|
180 ms | 243 ms | 171 ms | 2 ms | 358 ms |
บังคาลอร์ | ซิดนีย์ | ญี่ปุ่น | แคนาดา | เยอรมนี |
64 ms | 139 ms | 81 ms | 242 ms | 151 ms |
ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์: 163.1 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด
ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกของค่ายนี้เป็นไปตามที่คาดไว้คือแค่ 163.1 มิลลิวินาทีเท่านั้น โดยให้ผลลัพธ์ช้าที่สุดในเซา เปาลูที่ 358 มิลลิวินาที
ระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์โดยเฉลี่ยในเอเชียนั้นเร็วมากที่ 71.5 มิลลิวินาที ซึ่งหมายความว่าแม้ว่าเว็บไซต์ของคุณจะโฮสต์ในสิงคโปร์ แต่ผู้เข้าชมชาวไทยของคุณก็ยังคงโหลดเว็บไซต์ของคุณได้อย่างรวดเร็ว!
ด้วยความเร็วขนาดนั้น SiteGround จึงเป็นผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งระดับ A+
สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ SiteGround
เราทำการทดสอบมากมายบน SiteGround ในแง่ของความเร็วและสถานะการออนไลน์ของเซิร์ฟเวอร์และจนถึงตอนนี้มันก็ยังทำงานได้ดี แต่นั่นไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้ SiteGround เป็นเว็บโฮสต์ระดับพรีเมียมที่แข็งแกร่ง
ค่ายนี้ทุ่มเทอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ย้ายศูนย์ข้อมูลไปใช้โครงสร้างพื้นฐานของ Google Cloud ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้เพลิดเพลินไปกับความเร็วและฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยของ Google ที่ไม่เหมือนใคร
นอกจากนี้ยังมีอะไรอีกมากมายที่โดนใจอย่างเช่น AI สวีทและ SuperCacher ที่ช่วยเพิ่มความเร็วแรง แต่สิ่งที่เราชอบมากที่สุดคือการช่วยเหลือดูแลลูกค้า
แชทสดพร้อมให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงซึ่งมีประโยชน์มาก ๆ ทีมสนับสนุนพร้อมช่วยเหลือทุกอย่างหากคุณยอมให้ทีมงานเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณได้
ปัจจุบัน SiteGround ยอมรับการชำระเงินด้วย PayPal บัตรเครดิตและบัตรเดบิต
สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ SiteGround
ราคาสมัครใช้งานครั้งแรกของ SiteGround ไม่แพงเลย เพียงแค่ 216.69 บาทต่อเดือน แต่เมื่อสัญญาหมดอายุราคาต่อสัญญาจะพุ่งขึ้นไปที่ 464.69 บาทต่อเดือน
ราคานี้อาจจะหนักไปหน่อยสำหรับธุรกิจไทยที่อ่อนไหวต่อราคา
นอกจากนี้ SiteGround ก็ไม่ได้ให้โดเมนฟรี ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นติดตั้งเพิ่มขึ้นมาก
ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่ทำให้เราไม่ได้จัดค่ายนี้ให้เป็นเว็บโฮสต์อันดับ 1 ในรายการ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ SiteGround
- อ่านรีวิว SiteGround แบบเจาะลึกของเรา!
- เข้าสู่ เว็บไซต์ทดลอง SiteGround ของเรา!
3. HostAtom
https://www.hostatom.com/อันดับสามในรายชื่อของเราคือแบรนด์ไทยชื่อ HostAtom! มาดูกันว่าค่ายนี้สู้กับต่างชาติได้หรือไม่ยังไง
ระหว่างที่ติดตั้งเว็บไซต์ทดลอง เราพบว่าแบรนด์เว็บโฮสติ้งของไทยที่เราชื่นชอบรายนี้มีศูนย์ข้อมูล 4 แห่ง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเลือกศูนย์ข้อมูลในไทยสำหรับการทดสอบความเร็ว
US (W) | US (E) | ลอนดอน | สิงคโปร์ | เซาเปาลู |
---|---|---|---|---|
209 ms | 548 ms | 200 ms | 32 ms | 362 ms |
บังคาลอร์ | ซิดนีย์ | ญี่ปุ่น | แคนาดา | เยอรมนี |
92 ms | 162 ms | 111 ms | 268 ms | 203 ms |
ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในไทย: 218.7 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด
ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกของ HostAtom อาจจะต้องปรับปรุงอีกนิด โดยเฉพาะในพื้นที่โลกตะวันตกเกือบทั้งหมด
ระยะเวลาในการตอบสนองในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียค่อนข้างดีโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 99.3 มิลลิวินาที
หากคุณเลือกที่จะสร้างเว็บไซต์ด้วย HostAtom ผู้เข้าชมที่เป็นคนไทยรวมถึงคนในประเทศโดยรอบน่าจะพอใจ กับความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ !
ขอให้จำไว้ว่า คนในภูมิภาคอื่นอาจจะไม่ชอบใจเนื่องจากระยะเวลาตอบสนองจะช้าลงเรื่อย ๆ ตามระยะทางที่ห่างจากที่ตั้งของคุณ
สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ HostAtom
จากที่เราได้ลองใช้บริการเว็บโฮสติ้งแบรนด์ไทยหลายราย เราค่อนข้างพอใจกับอินเทอร์เฟสผู้ใช้ของ HostAtom ทุกอย่างถูกจัดวางอย่างดีจนใช้งานได้ง่ายมาก เราไม่มีปัญหาอะไรเลยในการท่องเว็บไซต์
อันที่จริง เรารู้สึกว่า HostAtom เป็นผู้ให้บริการแบรนด์ไทยเพียงรายเดียวที่มอบประสบการณ์ให้กับผู้ใช้ได้ในระดับเทียบเท่ากับแบรนด์ต่างประเทศได้
นอกจากนี้ ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้ายังพูดภาษาไทยด้วย ฉะนั้น การสื่อสารยิ่งไม่น่าเป็นปัญหาหากคุณต้อง การความช่วยเหลือ
เรายังชอบที่ HostAtom รองรับวิธีการชำระเงินที่เป็นมิตรกับคนไทย เช่น การโอนเงินผ่านธนาคารหรือผ่านตู้เอทีเอ็ม นอกจากนี้ยังรับชำระเงินด้วย PayPal และบัตรเครดิต
สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ HostAtom
HostAtom ใช้ Plesk เป็นแผงควบคุมแทน cPanel ในขณะที่บางคนอาจจะชอบ Plesk มากกว่า แต่เราชอบอย่างหลังมากกว่าและอยากจะให้มีทางเลือกว่าเราจะใช้ตัวไหนก็ได้
ค่ายนี้ประกาศว่า ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน แต่ไม่พบปุ่มแชทสดเลย อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนทางอีเมลตอบกลับได้ค่อนข้างรวดเร็วและมีการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่พร้อมให้บริการตลอดเวลา
อย่าลืมเผื่อเงินไว้ซื้อโดเมนด้วยเพราะไม่ได้ให้ฟรีในแพ็กเกจบริการเว็บโฮสติ้ง และคุณอาจจะต้องเผื่อเงินไว้อีกหน่อยเพราะราคา 124 บาทต่อเดือนนั้นยังไม่รวมภาษี
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ HostAtom
- เข้าสู่ เว็บไซต์ทดลอง HostAtom ของเรา!
- ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์หลักของ HostAtom!
4. A2 Hosting
https://www.a2hosting.com/A2 เป็นหนึ่งในบริการเว็บโฮสติ้งที่ดีที่สุดในขณะนี้โดยได้รับรางวัลมากมายทั้งด้านความเร็ว บริการและความพยายามในการช่วยโลก
เราได้สร้างเว็บไซต์ทดลองด้วยแพ็กเกจ Drive ของค่ายนี้ซึ่งไม่แปลกที่เราจะพอใจกับประสิทธิภาพอย่างเต็มเปี่ยม !
US (W) | US (E) | ลอนดอน | สิงคโปร์ | เซาเปาลู |
---|---|---|---|---|
186 ms | 270 ms | 155 ms | 2 ms | 365 ms |
บังคาลอร์ | ซิดนีย์ | ญี่ปุ่น | แคนาดา | เยอรมนี |
59 ms | 94 ms | 75 ms | 255 ms | 168 ms |
ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์: 162.9 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด
A2 Hosting มีศูนย์ข้อมูล 4 แห่งเพื่อให้บริการผู้ใช้ทั่วโลกและศูนย์ข้อมูลที่ใกล้ที่สุดสำหรับเราคือศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ที่ซึ่งเว็บไซต์ทดลองของเราโฮสต์อยู่
เราค่อนข้างพอใจกับระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ซึ่งในเอเชียเฉลี่ยอยู่ที่ 57.5 มิลลิวินาที ถือว่าเร็วที่สุดเท่าที่เราเคยทดสอบมา
ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกของค่ายนี้ก็ค่อนข้างเยี่ยมคือที่ 162.9 มิลลิวินาทีซึ่งจัดเป็นเว็บโฮสต์ในระดับ A+!
สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ A2 Hosting
นอกเหนือจากระยะเวลาตอบสนองอันยอดเยี่ยมแล้ว แพ็กเกจ Drive ของ A2 ยังอัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพความเร็ว อย่างเช่น พื้นที่เก็บข้อมูล SSD และซอฟต์แวร์เสริมประสิทธิภาพในแบบของ A2
นอกจากนี้ ทางค่ายยังให้ลูกค้าแบบไม่อั้นไม่ว่าจะเว็บไซต์ อีเมล การถ่ายโอนข้อมูล โดเมนรองและพื้นที่จัดเก็บ RAID-10
คุณรู้ได้เลยว่า ค่ายนี้เป็นเว็บโฮสต์ที่เชื่อถือได้เพราะรับประกันช่วงเวลาให้บริการได้ถึง 99.9% !
ปัจจุบัน A2 Hosting รับการชำระเงินด้วย PayPal บัตรเครดิตและการโอนเงินผ่านธนาคาร
สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ A2 Hosting
สาเหตุหนึ่งที่ A2 ไม่อยู่ในอันดับที่สูงกว่านี้ในรายการนี้เป็นเพราะการช่วยเหลือดูแลลูกค้า…ค่อนข้างช้า เรารอนานกว่า 20 นาทีกว่าจะมีการตอบรับจากแชทสด และเมื่อติดต่อกลับมา เจ้าหน้าที่ก็ออกจะไม่ค่อยมีสมาธิในการฟังสักเท่าไหร่
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ก็ไม่พูดภาษาไทย ฉะนั้น เผื่อใจสำหรับความหงุดหงิดไว้ด้วยเมื่อต้องการความช่วยเหลือ หากคุณตัดสินใจโฮสต์กับค่ายนี้
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ A2 Hosting
- อ่านรีวิว A2 Hosting แบบเจาะลึกของเรา!
- เข้าสู่ เว็บไซต์ทดลอง A2 Hosting ของเรา!
5. P&T Hosting
https://www.pathosting.co.th/ถัดมาในรายชื่อของเรา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นชื่อที่คุณบางคนน่าจะคุ้นเคยนั่นคือ P&T Hosting
ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งของไทยที่ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งรับประกันคุณภาพพร้อมการช่วยเหลือดูแลลูกค้าที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
จนถึงปัจจุบัน ค่ายนี้ให้บริการลูกค้ามากกว่า 8000 ราย เว็บไซต์ 6500 แห่งและตัวเลขก็ไม่มีวี่แววว่าจะลดลง
US (W) | US (E) | ลอนดอน | สิงคโปร์ | เซาเปาลู |
---|---|---|---|---|
209 ms | 281 ms | 199 ms | 32 ms | 385 ms |
บังคาลอร์ | ซิดนีย์ | ญี่ปุ่น | แคนาดา | เยอรมนี |
88 ms | 216 ms | 110 ms | 265 ms | 194 ms |
ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในไทย: 197.9 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด
P&T ทำได้ดีมากในเอเชียโดยมีความเร็วเฉลี่ย 111.5 มิลลิวินาทีในการทดสอบของเรา
ค่าความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกก็แจ๋วไม่แพ้กันโดยผลการทดสอบความเร็วอยู่ที่ 197.9 มิลลิวินาที ค่ายนี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งระดับ A !
ในเรื่องของความเร็ว คุณไม่มีอะไรต้องกังวลหากอยู่ในประเทศไทย แต่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนีอาจจะรู้สึกว่าเว็บไซต์ของคุณช้าจนยากจะได้ใจ
สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ P&T Hosting
เห็นได้ชัดว่า P&T Hosting มีระยะเวลาตอบสนองที่รวดเร็วในเอเชีย แต่นั่นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เราตัดสินใจรวมเอาค่ายนี้ไว้ในรายชื่อนี้ด้วย
นอกเหนือจากบัตรเครดิต เราชอบที่ P&T ยังยอมรับตัวเลือกการชำระเงินอื่น ๆ เช่น PayPal การโอนเงินผ่านธนาคารออนไลน์และการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ตามร้าน 7-11
ฟีเจอร์แชทสดก็เป็นข้อดีเช่นกัน แต่มีอยู่วันศุกร์หนึ่งที่เราพยายามเข้าถึงแชทสดในช่วงเวลา 16.30 น. ดูเหมือนว่าระบบจะไม่ทำงาน ก็หวังว่าจะไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
อินเทอร์เฟสผู้ใช้ที่พัฒนาขึ้นมาเองก็ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ช่วยให้ติดตั้ง WordPress ได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับมือใหม่จริง ๆ!
สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ P&T Hosting
มันค่อนข้างน่าผิดหวังที่ P&T ไม่ค่อยมีฟีเจอร์อะไรมากนัก ด้วยแพ็กเกจ 1500 เราสามารถโฮสต์เว็บไซต์ได้เพียง 1 เว็บ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับผู้ที่วางแผนจะโฮสต์หลายเว็บไซต์
เผื่อเงินไว้ซื้อโดเมนด้วยเพราะไม่มีให้ฟรี
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ P&T Hosting
- ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์หลักของ P&T Hosting!
6. Bluehost
https://www.bluehost.com/Bluehost เป็นผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่เก่าแก่ที่สุดในบทความนี้โดยดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 1996 แน่นอนว่าด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี ค่ายนี้ก็น่าจะเชี่ยวชาญด้านนี้ใช่ไหมล่ะครับ
มาดูกันเลยครับ !
US (W) | US (E) | ลอนดอน | สิงคโปร์ | เซาเปาลู |
---|---|---|---|---|
25 ms | 57 ms | 150 ms | 195 ms | 189 ms |
บังคาลอร์ | ซิดนีย์ | ญี่ปุ่น | แคนาดา | เยอรมนี |
262 ms | 171 ms | 127 ms | 88 ms | 170 ms |
ความเร็วเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลในสหรัฐฯ: 143.4 ms – ดูผลลัพธ์ทั้งหมด
จากผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งทั้งหมดในบทความนี้ ระยะเวลาตอบสนองโดยเฉลี่ยของ Bluehost ช้าที่สุดในเอเชียที่ 188.8 มิลลิวินาที อย่าลืมว่าช้าที่สุดไม่ได้หมายความว่าช้าและยังผ่านข้อกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของเว็บอีกต่างหาก !
อย่างไรก็ตาม ค่าความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกของค่ายนี้เร็วที่สุดในรายชื่อทั้งหมดนี้ที่ 143.4 มิลลิวินาที ซึ่งจัดอยู่ในผู้ให้บริการระดับ A+
จากข้อมูลนี้เห็นได้ชัดว่า Bluehost ไม่มีศูนย์ข้อมูลในเอเชีย แต่หากคุณเลือกที่จะโฮสต์กับค่ายนี้ คุณก็ยังจะได้เพลิดเพลินไปกับความเร็วที่เหมาะสมทั่วโลก
สิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับ Bluehost
แพ็กเกจระดับเริ่มต้นของค่ายนี้มีราคาค่อนข้างย่อมเยาที่ 153.45 บาทต่อเดือน และก็ค่อนข้างคุ้มค่าด้วย SSL ฟรี โดเมนฟรี (ปีแรกเท่านั้น) และพื้นที่จัดเก็บ SSD 50 GB สำหรับความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ที่รวดเร็ว
เรารู้สึกสะดวกสบายกับการใช้ cPanel ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าตั้งใจทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันและช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ค่อนข้างรวดเร็ว
ปัจจุบัน Bluehost ยอมรับการชำระเงินด้วย PayPal และบัตรเครดิต
สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ Bluehost
หากคุณเจอกับปริมาณการเข้าชมเว็บที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน Bluehost อาจจะควบคุมปริมาณการเข้าขมเว็บไซต์ของคุณเพื่อปกป้องเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ร่วมกันกับคุณ สิ่งนี้จะทำให้ความเร็วในการโหลดช้าลงและจะทำให้คุณเสียโอกาสในการขายของอย่างแน่นอน
หากปริมาณการเข้าชมพุ่งสูงต่อเนื่อง ค่ายนี้อาจระงับเว็บไซต์ของคุณด้วย นับว่าเป็นข่าวร้ายหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bluehost
- อ่าน แบบเจาะลึกของเรา!!
- เข้าสู่ เว็บไซต์ทดลอง Bluehost ของเรา!
ทำไมต้องเริ่มธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย
เพื่อประโยชน์ของผู้อ่านของเราที่กำลังสองจิตสองใจเกี่ยวกับ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ลองมาดูกันว่าทำไมธุรกิจไทยส่วนใหญ่จึงเริ่มสร้างเว็บไซต์ของตัวเองและทำไมคุณจึงควรทำเช่นนั้น
อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยสูงมาก!
ประการแรก ประเทศไทยมีประชากรมากถึง 69.8 ล้านคน (ณ ปี 2020) จากจำนวนนี้ 81% ของประชากรทั้งหมดเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ (นั่นคือ 56 ล้านคนนั่นเอง)
ลองเดาดูสิครับว่า ในจำนวนนี้มีบัญชี Facebook กี่คน 65.9% ครับ ประชากรกว่าครึ่งชอบใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทั้งนี้จากข้อมูลของ สถิติโลกอินเทอร์เน็ต
ปรากฏการณ์นี้ถือเป็นความก้าวหน้าตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับการปรับปรุงให้รวดเร็วขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อันที่จริง ความเร็วอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยของเราคือ 171.45 Mbps เร็วเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนและดูเหมือนจะเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลกซึ่งเอาชนะเกาหลีใต้ได้!
เศรษฐกิจผู้บริโภคออนไลน์ของไทยมีมูลค่าหลายพันล้าน
“ว่าแต่ตัวเลขพวกนี้เกี่ยวอะไรกับการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ของฉันล่ะ?”
คุณเห็นไหมว่า ตัวเลขทั้งหมดนี้บอกเล่าเรื่องราวซึ่งเป็นเรื่องราวที่บอกว่า คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับการซื้อของออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
จากข้อมูลของ Hootsuite พบว่า 85% ของประชากรที่ชอบท่องอินเทอร์เน็ตซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการทางออนไลน์ในช่วงเดือนกันยายน 2019
อันที่จริงแล้ว Statista.com แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจผู้บริโภคออนไลน์ของไทยมีมูลค่า 8.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018 รู้ไหมครับ… นั่นคิดเป็นเงิน 264,628,900,000.00 บาท ผมนับเลขศูนย์ไม่ถูกเลย มันเยอะไปหมด
ผมไม่รู้ว่าคุณคิดยังไงนะครับ แต่ตัวเลขเหล่านี้ทำให้ผมตื่นเต้นจนอยากกระโดดเข้าสู่วงการอีคอมเมิร์ซเลยทีเดียว
ช่วงเวลาที่ท้าทายรอธุรกิจไทยอยู่ข้างหน้า
ดูเหมือนสภาพการณ์ทางธุรกิจในดินแดนแห่งรอยยิ้มจะไม่สดใสนักนะครับ
นอกเหนือจากความไม่มั่นคงทางการเมือง (ผลกระทบจากการรัฐประหารในปี 2006 และ 2014 ยังคงรู้สึกได้ในปัจจุบัน) ประเทศไทยยังเผชิญกับ ภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด ในรอบ 40 ปีซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากร 11 ล้านคนในภาคเกษตรกรรม
คาดกันว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จะต้องปิดตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธุรกิจเหล่านี้สายป่านไม่ยาวพอจะฟันฝ่าช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้
อันที่จริง ปัญหาอันหนักหน่วงกำลังรออยู่ข้างหน้าสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก โดยคาดการณ์กันว่ากว่า 70% ของธุรกิจขนาดเล็กจะล้มภายในสองสามปีข้างหน้า
เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด โลกยังซ้ำเติมมนุษย์และไม่สนใจบรรทัดฐานทางสังคมใด ๆ ทั้งสิ้นด้วยการส่งโรคระบาดครั้งใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือ การระบาดของโควิด-19 นั่นเอง
การระบาดครั้งนี้บีบให้ระบบเศรษฐกิจต้องปิดตัวลงโดยที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากไม่เหลือทางเลือกอื่นนอกจากต้องปิดกิจการอย่างถาวรท่ามกลางสถานการณ์ที่รอหายนะ
นอกจากนี้ ตัวเลขคาดการณ์ GDP ก็ติดลบเนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ซึ่งเราพึ่งพามาก) ต้องหยุดชะงักเนื่องจากโควิด-19
สภาพการณ์ในไทยไม่เคยเอื้อต่ออีคอมเมิร์ซมากขนาดนี้!
ผมรู้ว่า มันดูเหมือนทุกอย่างกำลังรอวันพังพินาศ แต่เรารับรองว่าจะมีเรื่องราวดี ๆ เกิดขึ้นหลังจากเรื่องร้ายผ่านพ้นไปอย่างแน่นอน
การแพร่ระบาดครั้งนี้ทำให้ผู้คนต้องอยู่บ้านเพื่อให้รอดจากการติดเชื้อ ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมองหาช่องทางออนไลน์เพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน
บริการจัดส่งอาหารกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถ้าดูจากคนขับรถส่งอาหารต้องขับรถส่งอาหารตามคำสั่งซื้อมากถึง 15 รายการในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง การช้อปปิ้งออนไลน์ก็สูงขึ้นอย่างชัดเจนโดยเห็นได้จาก Lazada ประเทศไทยมี ยอดขายเพิ่มขึ้น 100% ในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ช่วงนี้คือช่วงเวลาที่ดีสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างที่คุณใฝ่ฝันมาตลอดเนื่องจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเร็วพอที่ผู้คนจะยอมรับการช็อปปิ้งออนไลน์ได้อย่างไม่ขัดอกขัดใจ และมากกว่า 80% ของคนไทยชื่นชอบอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว
ผมรู้ว่า คุณบางคนที่กำลังอ่านบทความนี้กังวลเกี่ยวกับเรื่องโลจิสติกส์ของอีคอมเมิร์ซ แต่เรารับรองได้เลยว่าไม่มีอะไรต้องกังวล
บริษัทโลจิสติกส์ทั้งในและต่างประเทศอย่างเช่น Kerry Express กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศไทยเนื่องจาก Alibaba มองไทยเป็นศูนย์กลางอีคอมเมิร์ซ
พูดง่าย ๆ นะครับ ประเทศไทยพร้อมแล้วที่จะให้ธุรกิจของคุณก้าวไปสู่ดิจิทัล สิ่งที่คุณต้องทำตอนนี้คือ มองหาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ตอบโจทย์
จะเลือกเว็บโฮสติ้งที่ดีในไทยได้อย่างไร
ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่รวดเร็วและเชื่อถือได้เป็นสิ่งสำคัญมากหากคุณต้องการให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณประสบความสำเร็จ
จากข้อมูลของ thinkwithgoogle คน 32% จะออกจากเว็บไซต์หากใช้เวลาโหลดนานกว่า 3 วินาที
นั่นหมายความว่า เว็บไซต์ที่ช้าจะสูญเสียโอกาสทำกำไรอย่างน้อย 32%!
คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่า เว็บโฮสต์มีคุณสมบัติตรงตาม ข้อกำหนดตัวชี้วัดหลักสำหรับการทำงานของเว็บไซต์! ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 อย่าง :
- ตัวชี้วัดความเสถียรของหน้าเว็บไซต์ (CLS)
- เวลาที่ใช้ในการแสดงเนื้อหาทั้งหมด (LCP)
- ตัวชี้วัดการตอบสนองของผู้ใช้งาน (FID)
จาก 3 ตัวชี้วัดนี้ สองตัวหลังขึ้นอยู่กับความเร็วในการโหลดเป็นอย่างมาก!
หากเว็บไซต์ของคุณทำงานได้ไม่ดีพอที่จะเป็นไปตามข้อกำหนดเหล่านี้ เว็บของคุณจะหลุดจากอันดับต้น ๆ ของการแสดงผลจากการค้นหาผ่าน Google ซึ่งหมายความว่าคุณอาจจะสูญเสียโอกาสในการขายหลายพัน ครั้งเลยทีเดียว ลองคิดดูสิครับว่าครั้งสุดท้ายที่คุณคลิกไปหน้าที่ 2 ของผลการค้นหาใน Google นั้นนานแค่ไหนแล้ว
เราจะมาดูปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลให้บริการเว็บโฮสติ้งเป็นบริการที่ดี
1. ความเร็ว
อย่างที่ได้พูดไปก่อนหน้านี้ ความเร็วมีความสำคัญสูงสุดในการเลือกเว็บโฮสต์ หากโหลดช้าเกินไป ผู้ซื้อจะออกไปจากเว็บของคุณ และคุณจะไม่ติดอันดับในการค้นหาของ Google
พูดอีกอย่างคือ ความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของคุณส่งผลต่อกำไรของคุณโดยตรง !
สิ่งหนึ่งที่ส่งผลต่อระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์คือ ตำแหน่งระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับผู้เข้าชมเว็บของคุณ ยิ่งใกล้กันเท่าไหร่ ก็ยิ่งตอบสนองเร็วมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งศูนย์ข้อมูลอยู่ห่างออกไปเท่าไหร่ ผู้เข้าชมเว็บของคุณก็จะยิ่งเจอกับการโหลดที่ช้าลงเท่านั้น
2. การช่วยเหลือดูแลลูกค้า
คุณต้องการทีมสนับสนุนที่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะจัดการกับทุกปัญหาและต้องอดทนพอกับการรับฟังคำถามโง่ ๆ (คุณไม่ควรกลัวที่จะถาม ไม่ว่ามันจะดูงี่เง่าแค่ไหนก็ตาม)
ตรวจสอบดูว่า บริการช่วยเหลือลูกค้ามีแชทสดตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันหรือไม่ และใช้เวลานานแค่ไหนในการตอบกลับอีเมลที่คุณส่งคำถามเข้าไป ฯลฯ
3. ช่วงเวลาให้บริการ
คุณต้องการผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่รับประกันช่วงเวลาให้บริการเนื่องจากหากเว็บไซต์ของคุณล่มไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม มันก็ไม่คุ้มค่าเงินที่คุณจ่ายไป แถมคุณยังสูญเสียโอกาสทำกำไรเพราะผู้ซื้อไม่สามารถซื้อของผ่านเว็บไซต์ของคุณได้!
ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่เชื่อถือได้จะรับประกันช่วงเวลาให้บริการเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณจะไม่ล่ม!
4. ความปลอดภัย
ชื่อเสียงของเว็บไซต์ของคุณจะเสียหายอย่างไม่สามารถแก้ไขได้ หากคุณสูญเสียข้อมูลอันมีค่าของลูกค้าเนื่องจากการโจมตีจากแฮกเกอร์!
คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า เว็บโฮสติ้งของคุณมีข้อมูลรับรองความปลอดภัยที่เข้มงวดและอย่างน้อยก็มีการ
สแกนมัลแวร์อัตโนมัติ
จะเจ๋งมากหากให้ SSL ฟรี!
5. ความคุ้มค่า
ประการสุดท้ายแต่สำคัญไม่แพ้กัน เราจะพิจารณาถึงความคุ้มค่า ไม่มีใครชอบการจ่ายเงินมากเกินไปสำหรับฟีเจอร์ที่ไม่เคยใช้ แต่การใช้บริการราคาถูกก็อาจเป็นหายนะได้ในระยะยาว
เห็นได้ชัดว่าเราทุกคนต้องการสิ่งที่ราคาไม่แพงแต่ดี และนั่นก็เป็นอะไรที่ตัดสินยากเว้นแต่คุณจะได้ลองใช้บริการทั้งหมดจริง ๆ
ใช้บริษัทเว็บโฮสติ้งในประเทศหรือต่างประเทศดี
การเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับธุรกิจไทย
ปัญหาประการหนึ่งคือ ควรเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งในประเทศหรือต่างประเทศ มาดูสิ่งที่คนทั่วไปกังวลกันและความคิดของเราเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้
1. ทำไมต้องใช้ของต่างประเทศเมื่อมีบริการเว็บโฮสติ้งในประเทศ
จากมุมมองของเรา ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการช็อปปิ้งราคาประหยัดระดับนานาชาติ ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกทั้งมาเลเซีย กัมพูชาหรือสิงคโปร์ซึ่งมาเยือนไทยเพื่อซื้อเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ งานศิลปะและอาหารที่ไม่เหมือนใครในราคาจับต้องได้
นักท่องเที่ยวจากอินเดียเพิ่มขึ้น 22% ในปี 2019!
เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว คุณจะต้องมั่นใจให้ได้ว่า ร้านค้าออนไลน์ของคุณสามารถรองรับผู้เข้าชมจากภูมิภาคใกล้เคียงได้ เนื่องจากพวกเขายังคงต้องการซื้อสินค้าที่ผลิตในไทย
ตราบใดที่ศูนย์ข้อมูลสำหรับบริการเว็บโฮสติ้งต่างประเทศตั้งอยู่ในประเทศใกล้ ๆ เราอย่างสิงคโปร์ ผู้ซื้อในและต่างประเทศของเราก็ควรจะเพลิดเพลินไปกับความเร็วที่รวดเร็วบนเว็บไซต์ของเราได้
2. จะเป็นยังไงถ้าผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งต่างประเทศพูดภาษาไทยไม่ได้
การใช้บริการเว็บโฮสติ้งแบรนด์ไทยอาจจะช่วยให้การสื่อสารเข้าใจกันมากขึ้นเมื่อต้องติดต่อฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้า แต่คุณภาพของการช่วยเหลือก็สำคัญเช่นกัน
แบรนด์เว็บโฮสติ้งระดับนานาชาติมักจะมาพร้อมกับทีมสนับสนุนฝีมือเจ๋งซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้ แต่พวกเขาอาจไม่สามารถพูดภาษาไทยได้
วิธีแก้ปัญหาของเราคือ ใช้ Google Translate เพื่อพูดคุยกับพวกเขา
มันไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดแต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในช่วงที่เราติดตั้งเว็บไซต์ของเราในเวียดนามมาเลเซีย อเมริกาและเม็กซิโก
3. จะขอโดเมน .TH ได้หรือไม่
จากประสบการณ์ของเรา การได้โดเมน .th เป็นสิ่งที่ดีและทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก
หลัก ๆ แล้ว เจ้าของบริษัทจะต้องแสดงเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัทเพียงเพื่อซื้อชื่อโดเมน. th และชื่อบริษัทนั้นสามารถใช้ได้กับโดเมน .th เดียวเท่านั้น
ฉะนั้น เราจึงไม่แปลกใจที่เห็นเว็บไซต์ยอดนิยม เช่น sanook.com และ pantip.com ใช้ชื่อโดเมน .com แบบที่เห็นกันทั่วไปเนื่องจากไม่ยุ่งยากและสะดวกกว่า
ในความเห็นของคนตัวเล็ก ๆ อย่างเรา โดเมน .th เป็นเรื่องไม่จำเป็น เว้นแต่คุณต้องการจะสร้างเว็บไซต์ที่เปิดตัวอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ อย่าง Lazada และต้องการคงตัวตนความเป็นไทยไว้
4. ฉันซื้อบริการเว็บโฮสติ้งต่างประเทศโดยไม่ใช้บัตรเครดิตได้หรือไม่
เห็นได้ชัดว่า คนไทยส่วนใหญ่ยัง ไม่ค่อยสะดวกใจในการใช้บัตรเครดิต เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ฉะนั้น จึงควรตรวจสอบดูว่าผู้ให้บริการที่คุณต้องการใช้สามารถรับการชำระเงินในรูปแบบอื่นได้หรือไม่
5. ฉันควรใช้บริการเอเจนซี่เว็บไซต์หรือบริการเว็บโฮสติ้ง
เอเจนซี่เว็บโฮสติ้งเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มคนไทย แต่โดยปกติแล้วจะมีค่าใช้จ่าย เราคิดว่าเอเจนซี่เหล่านี้ดีและให้ความสะดวกสบายก็จริง แต่โดยหลัก ๆ แล้วคุณต้องจ่ายค่าบริการที่ไม่จำเป็นจริง ๆ
ตามความเห็นของเรา ทุกวันนี้เว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถสร้างและตั้งค่าได้ง่ายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามารถติดตั้ง WordPress ได้ในคลิกเดียว และถึงที่สุดแล้ว เอเจนซี่จะให้คุณเลือกกำหนดรูปแบบเว็บไซต์ของคุณเองอยู่ดีซึ่งอาจจะลงท้ายด้วยการที่คุณต้องตั้งค่าด้วยตัวเองนั่นเอง
ส่วนบริษัทเว็บโฮสติ้งให้ความคุ้มค่ามากกว่าเพราะคุณแค่จ่ายสำหรับชื่อโดเมนและบริการเว็บโฮสติ้งเท่านั้น
หากคุณกังวลว่า คุณไม่มีทักษะหรือความรู้พอที่จะสร้างเว็บไซต์อย่างถูกต้อง เคล็ดลับก็คือ ขอให้ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าจัดการให้เลยครับ พวกเขาจะทำงานให้เสร็จโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สิ่งที่คุณต้องทำก็คือกำหนดรูปแบบเว็บไซต์ของคุณซึ่งก็ไม่ต่างจากการใช้บริการเอเจนซี่ เพียงแต่จ่ายในราคาที่ถูกกว่ามาก!
เราทดสอบความเร็วเว็บโฮสต์อย่างไร
เพื่อจัดทำรายชื่อนี้ เราได้ซื้อบริการเว็บโฮสติ้งจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ สร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อการทดสอบโดยเฉพาะและวัดระยะเวลาตอบสนองโดยใช้ ตัววัดความเร็วเซิร์ฟเวอร์ ของเราเอง
จากนั้นเราจึงนำผลการทดสอบเหล่านั้นมาใช้ในการจัดอันดับเว็บโฮสต์แต่ละรายโดยมีตั้งแต่อันดับ A+ ถึง E โดยพิจารณาจากระยะเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ 10 แห่งทั่วโลก
คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์ของเราและวิธีวัดความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของเราได้ ที่นี่
บทสรุป: เว็บโฮสติ้งใดดีที่สุดสำหรับประเทศไทย
มาทบทวนตัวเลือกเว็บโฮสติ้ง 3 อันดับแรกที่เหมาะกับธุรกิจไทยกันครับ
Hostinger | SiteGround | Hostatom | |
---|---|---|---|
ความเร็วเฉลี่ยทั่วโลก | A+ | A+ | B+ |
ความเร็วในเอเชีย | 76.3 ms | 71.5 ms | 99.3 ms |
ราคา (บาท/เดือน) | ฿105 | ฿217 | ฿124 |
ดูคุณสมบัติทั้งหมด |
ผู้ให้บริการทุกรายที่คุณเห็นในรายการนี้สามารถพาธุรกิจของคุณไปสู่จุดสูงสุดด้วยความเร็วและบริการที่ยอดเยี่ยม
สิ่งที่สำคัญจริง ๆ คือ คุณต้องการอะไรและลำดับความสำคัญให้ชัดเจน ความเร็วและยอดขายสำคัญที่สุดใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ให้เลือกผลการทดสอบความเร็วที่เร็วที่สุด
ราคามีผลต่อการตัดสินใจของคุณมากน้อยแค่ไหน คุณสามารถเลือกรายที่ไม่แพงเกินไปแต่ยังเร็วพอสมควร
หากคุณยังไม่ทราบว่าคุณต้องการอะไร เลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่มีความสมดุลระหว่างความเร็ว ราคาและฟีเจอร์